KYT การหยั่งรู้ระวังอันตราย

เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพในสายการผลิต
ทำอุบัติเหตุให้เป็น " ศูนย์" ด้วยวิธี KYT


KYT : Kiken Yochi Training
จุดเริ่มต้น... ของอุบัติเหตุในการทำงาน... HUMAN ERROR !!! จะต้องแก้ไขอย่างไร? โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำงานที่... เสี่ยง
ไม่ปลอดภัยของพนักงาน เช่น เผอเรอ เหม่อลอย ซุ่มซาม ลัดขั้นตอน รีบเร่ง อันเป็นเหตุของการผิดพลาด และเกิดการสูญเสีย
ในการทำงานทั้งสิ้น


สร้าง... จุดแข็งของทีมงาน จุดแข็งของสายการผลิต จุดแข็งขององค์กร คือการปฏิบัติงานโดยปราศจากอุบัติเหตุ!! เพราะ..องค์กรใด?
ที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง !!


อุบัติเหตุต่างๆ...การเสียชีวิต...ทุพพลภาพ นั้น ท่านรู้หรือไม่? ว่า นอกจากสร้างความเสียหายให้กับตัวพนักงาน
และองค์กร แล้วยัง...บั่นทอนความรู้สึก จิตใจ สุขภาพของคนงาน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะฉะนั้น...ควรป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ!!


คุณรู้หรือไม่ว่า...มีอันตรายอะไร? ซ่อนเร้นอยู่ในการปฏิบัติงานบ้าง ?
สร้างจิตสำนึก... ในด้านความปลอดภัยร่วมกันกับพนักงานภายในองค์กรได้อย่างไร?

      - หลักในการทำให้อุบัติเหตุเป็น ศูนย์ ZERO ACCIDENT
      - องค์กรทุกๆองค์กร คาดหวังอะไรจากการทำงานของพนักงาน
      - 5 W 1 H
      - แนวคิดเดิมความปลอดภัยให้ความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ....
      - พูดให้คิดก่อน ดีกว่าบอกให้เขาทำ....

      - การสร้างจิตสำนึกการระวังอันตราย อุบัติภัย ร่วมกัน ทำและคิดด้วยตัวเอง  
         ความแตกต่างและความหมายของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
               - INCIDENT อุบัติการณ์
               - ACCIDENT อุบัติเหตุ
               - NEAR MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ
     - ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ
     - ความสูญเสียทางตรง
     - ความสูญเสียทางออ้อม
     -  รูปภาพสื่อสารถึงความปลอดภัย   

      - กิจกรรม KYT การฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย

      - ความหมาย ประวัติ ความเป็นมา 

      - วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการหยั่งรู้ระวังอันตราย KYT

      - ประเภทของ KYT  ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

           -  KYT 4 ยก ( 4 Rounds KYT)

           -  KYT  จุดเดียว ( One Point KYT )

           -  KYT ปากเปล่า ( Oral KYT )

      -  ขั้นตอนและวิธีการ ทำ KYT  4 ยก  ค้นหาอันตราย วิเคราะห์ ว่ามีกิจกรรมใดบ้าง? และจะต้องปฏิบัติอย่างไร? 

          " มือชี้ ปากย้ำ" เตือนสติ ก่อนปฏิบัติงาน  การระดมสมอง

              - ค้นหาจุดอันตราย จากภาพที่ซ่อนเร้น พร้อมสาเหตุ
              - เลือกจุดอันตรายที่สำคัญที่สุด
              - หามาตรการป้องกันแก้ไข
              - เลือกมาตรการป้องกันที่ทำได้ง่าย ทันที 1-2 ข้อ


           ตั้งสโลแกน โดยเลือกมาตรการป้องกันที่ดีที่สุด ทำและจำได้ง่าย ... ตะโกนเตือนตนก่อนทำงาน
       
        - Work Shop : กิจกรรมย่อย ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมค้นหาอันตราย ทำ KYT จากภาพหรืออุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น

ระยะเวลาอบรม   1 วัน ( 09.00 น - 16.00 น. )

ผู้เข้าอบรม   ผู้บริหาร  ผจก. หน.แผนก หน.งาน  วิศวกร / จนท. และพนักงานทุกหน่วยงาน

 สื่อ ความเข้าใจง่าย มีภาพ คลิป ประกอบ เล่าประสบการณ์   ทำได้จริง เห็นผลแน่นอน  

พร้อมของรางวัลในการถาม ตอบ ร่วมกิจกรรม ร่วมพันบาท ผมไม่เคยเสียดาย  เพียงแค่เห็นรอยยิ้ม ความภาคภูมิใจในแสดงความคิดเห็น  คือ สิ่งที่ประทับใจ  ถึงแม้ไม่กล้าตอบ ผมจะเข้าไปถามสุดท้ายก็ตอบได้ เพียงแค่ ไม่กล้า ไม่เชื่อมั่นตัวเอง ดูถูกตัวเองคิดว่า ทำไม่ได้ คิดผิด สุดท้ายก็เงียบ 

เราต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง พูดย้ำเตือนตัวเองเสมอ  ฉันทำได้ ฉันฉลาด ฉันเก่ง ฉันสุดยอดจริงๆ 

ขอโอกาสผมสักคร้้ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง

ให้ปลอดภัย ครับ  มุ่งมั่น ตั้งใจ จริงๆ

      

 

 การทำกิจกรรม KYT   ไม่ได้จบที่เราทำกิจกรรมกลุ่ม  แต่เราต้องเตือนสติเราก่อนปฏิบัติงาน จะทำอะไร ก็จะต้อง

มือชี้ ปากย้ำ เตือนสติอยู่เสมอ ทำบ่อยๆ ให้เป็น  นิสัย .....

 

   

มีของรางวัลแจกมากมาย ในการร่วมกิจกรรมการอบรม ทุกรอยยิ้ม คือ ความประทับใจ และความสุข ความเหนื่อย หายหมด ....

 

 

 

 

ต้องขอบทีมงานการไฟฟ้า ที่จัดทำคลิปวีดีโอ KYT เพื่อให้ผู้สนใจมีความรู้ความเข้าใจมายิ่งขึ้น สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ต้องตบมือดัง ๆ ให้เลยครับ บอกคำเดียวว่า  สุดยอดครับ

  

ย้อนไป 10 กว่าปี ที่เคยอบรมพนักงานไป ก็ 10 กว่า รุ่นในโรงงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม มีไฟล์สำหรับอบรมได้ มีคลิปวีดีโอ ที่ผมถ่ายการประกวดทำกิจกรรม kyt ทำกันไม่นาน  ประมาท 4-5 นาที ในงานสัปดาห์ความปลอดภัย

 

 

หลักสูตร KYT การฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย

อบรมที่ : บริษัท วิทย์คอร์ป โปรดักส์ จำกัด. 78 หมู่ที่ 2 ซอยวัดแค ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567

Visitors: 598,270