การชี้บ่งอันตราวจและการประเมินความเสี่ยง ตามมาตรฐานISO 45001:2018

หลักสูตรการการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง ตามมาตรฐาน ISO 45001 : 2018

หลักการและเหตุผล

         การประเมินความเสี่ยงตามหลักสูตรนี้ เป็นการประเมินสภาวะความเสี่ยงในการทำงานตามหลักการด้านความปลอดภัย   อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งมีความแตกต่างจากการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจซึ่งเน้นไปที่ความไม่แน่นอนของตัวแปรทางธุรกิจและการแข่งขัน ส่วนการประเมินความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จะเน้นไปที่โอกาสเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และโอกาสที่จะเกิดความเสียหายแก่สายการปฏิบัติงานหรือโอกาสเกิดอันตรายภายในองค์กร ความเสี่ยงเป็นเรื่องของโอกาสซึ่งอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่การไม่รับรู้ถึงความเสี่ยงหรือภัยที่ซ่อนอยู่นับเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุด จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสายการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง สารเคมี เครื่องจักร ไฟฟ้า การผลิต การประกอบ การบรรจุ การขนส่ง จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

วัตถุประสงค์

              1. เพื่อให้ทราบถึงหลักการของการบ่งชี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยง 

              2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์อันตรายและจุดเสี่ยงในแต่ละขั้นตอนของงานได้ 

              3. เพื่อให้สามารถหาแนวทางหรือมาตรการป้องกันอันตรายของงานได้  

              4. เพื่อสร้างจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

หัวข้อการบรรยาย

1. ความหมายศัพท์ที่ควรรู้ ความเสี่ยงอันตราย Near Miss อุบัติเหตุ และอุบัติการณ์

2. การชี้บ่งอันตราย

           2.1   ข้อกำหนดระบบมาตรฐาน ISO 45001 : 2018 เรื่องการวางแผน (การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงและโอกาส)

           2.2     แนวทางในการหาแหล่งอันตราย

           2.3    วิเคราะห์ลักษณะการหาแหล่งอันตราย

3. การประเมินความเสี่ยง   อธิบาย WI

4. การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงจากที่ทำงาน

           4.1   การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงและโอกาส

                 -   ระดับโอกาสเกินอันตราย

                 -    ระดับความรุนแรงของอันตราย

                 -    ระดับความเสี่ยง

          4.2   รายงานการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน

          4.3   รายงานการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านจิตวิทยาในการทำงานและปัจจัยทางสังคม

5. การดำเนินการหลังจากการประเมินความเสี่ยงจากอันตราย

              -     การจำกัดแหล่งอันตรายและลดความเสี่ยง

              -     การติดตามและเมินผลการปฏิบัติตามแผนงาน

              -     ทะเบียนสรุปการจัดการความเสี่ยงที่ต้องควบคุม

              -     แผนดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง

              -     แผนปฏิบัติเพื่อควบคุมและลดความเสียง

6. การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง

รูปแบบการอบรม :  บรรยาย 60  % Workshop 40  %

ผู้เข้าอบรม   : ผู้บริหาร  ผจก. หน.แผนก หน.งาน  วิศวกร / จนท. และพนักงานทุกหน่วยงาน

ระยะเวลาอบรม  :  1 วัน ( 09.00 น - 16.00 น. )

วิทยากร   :  อ. วินัย  ดวงใจ

เน้นทำได้จริง

เราประเมินความเสี่ยง ดูจากระดับความรุนแรงของอันตราย จากเหลักเกณฑ์ ดังนี้  ถ้าเราไม่่มีก็ได้จำนวน เปอร์เซ็นต์สูง  ก็ไม่ตกใจ เพราะเราไม่มาตรการอะไร  หรือมี แต่ไม่รัดกุม ไม่สม่ำเสมอ ไม่มีแบบแผน  มันย่อมอันตรายอยู่ อยากจะให้อันตรายลดลง น้อยลง บริษัทเราก็ต้องจัดทำให้มันมี ให้มันเกิดขึ้น ทำได้อย่าวงจริงจัง  ค่อยจัดทำ โดยหัวหน้างานแต่ละแผนทำ แล้วลองประเมินให้คะแนนแต่ละช่อง ส่งให้ จป.วิชาชีพ ดู ถ้าช่องสุดท้าย ขึ้น  M  ก็จะต้องมีจัดทำ ปรับปรุงให้คะแนนลดลง ในบางหัวข้อที่แก้ไขได้  ส่วน  H   จปว ต้องรีบไปช่วยแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ทันที ให้เรื่อง นั้นๆ มีมาตรฐาน สร้างความปลอดภัยขึ้น

 

 

Visitors: 598,272